Friday, May 16, 2014

เที่ยวนิวซีแลนด์ 2014

ไปเที่ยวนิวซีแลนด์มาพึ่งกลับ ขอ Blog ไว้สักหน่อยกันลืม

Internet & IT

  • โดยภาพรวม Internet ราคาสูงกว่าประเทศอื่นๆรวมไปถึงบ้านเรามาก และไม่ค่อยมีฟรี
  • ถูกสุดที่เจอคือ NZ Telecom 29NZD ใช้ได้ 3GB เวลาประมาณ 1 เดือน แต่โทรศัพท์/sms ไม่ได้เลย แต่สามารถซื้อ add-on เพิ่มทีหลังได้ไม่ต้องห่วง ถ้าจำเป็นต้องโทร
  • Free Wifi ตามโรงแรมต้องเช็คดีๆ ส่วนใหญ่จะมี Limit เช่น 60MB 100MB เยอะสุดที่เจอคือ 500MB นี่โคตรหรูแล้ว อีกแบบคือจำกัดเวลา มีตั้งแต่ 30 นาที - 2 ชม. หรือแบบทั้งคู่เลยก็มี ถ้าเป็น Unlimited Wifi เขาจะบอกว่า "Free Unlimited Wifi" ถ้าบอก "Free Wifi" เฉยๆส่วนใหญ่จะเป็นการให้ Wifi แบบมี Limit ต่างๆ (โรงแรมที่ให้ "Unlimited Wifi" จริงก็มักจะให้ในความหมายที่ว่า แจกคูปองใช้ Internet แบบไม่จำกัด และวัดดวงว่าเราจะหน้าด้านพอขอเป็นกะตั้ก และขอก่อนเขาปิด Reception ทันหรือเปล่า) แต่ถ้าตาม Hostel อาจจะมี Unlimited Wifi ให้มั้ง
  • ดูจาก Usage พบว่าเราใช้ Internet เฉลี่ยวันละ 100-150MB อันนี้มีการใช้พวก Wifi ของโรงแรมแซมประปราย Activity มีตั้งแต่เล่นเน็ตทั่วไปด้วย Smartphone/Tablet, Update App จำนวนมากใน Android (พบว่า App มัน Update ถี่จริงๆ) โหลด Manga รวมไป Tether ให้ Laptop ด้วย แต่พยายามจำกัดการใช้งาน Dropbox ไว้ประมาณหนึ่ง
  • 3G Coverage ค่อนข้างแย่กว่าที่คิดไว้มาก ถ้าออกห่างออกจากเมืองมาสัก 5-10 km อาจเจอ 0% reception ซึ่งพบได้บ่อยมากระหว่างการขับรถ ใครที่ชอบเล่นเน็ตตอนนั่งรถนี่เลิกได้เลย
  • อาจจะเพราะมีการจำกัด Internet กันเต็มที่ ทำให้ Network มาเมืองไทยไม่ได้แย่มาก แต่ไม่ถึงกับพิมพ์อะไรไม่ได้ (ทดสอบด้วย ssh และการดึงข้อมูลจากเว็บภายในของบริษัทฯ)
  • App ที่ต้องมีติดตัวเลยคือ CamperMate ไว้บอกจุด ห้องน้ำ ปั๊มน้ำมัน มีพวก ร้านซักรีด อะไรอย่างนี้ด้วย ตำแหน่งที่บ่งบอกค่อนข้างตรงมาก

Battery

  • เนื่องจากคนมาเที่ยวที่นี่คงจะเช่ารถแน่ๆอยู่แล้ว แบตเตอรี่ Smartphone จึงไม่ใช่ปัญหาแต่อย่างใด เอาที่ชาร์จแบบเสียบที่จุดบุหรี่เสียบได้ปกติไม่มีปัญหา

การเดินทาง + ขับรถ

  • ประเทศนี้ใช้ระบบการเดินทางแบบเดียวกับ US (เหมือนกับไทย) คือเน้นการขับรถเป็นหลัก ถนนหนทางดี ป้ายสัญญาณถี่มาก
  • รถเช่ามี Local Brand หลายราย เช่น Go Rental, Apex, Kiwi อะไรสักอย่าง (Kiwi คือชื่อเล่นของนิวซีแลนด์) และพวก Jucy 
  • ที่แปลกกว่าที่อื่นคือมีให้เช่ารถบ้าน (Camper Van) ด้วยเป็นเรื่องปกติ เท่าที่แอบมองถ้าคันเล็ก หลังรถจะมีครัวประกบติดด้านหลัง คันใหญ่น่าจะมีห้องน้ำ
  • ที่คิดว่า Camper Van น่าจะมีห้องน้ำเพราะตามที่ต่างๆจะมีสิ่งที่เรียกว่า Dumping Station ไว้ทิ้งสิ่งปฏิกูลของ Camper Van กระจายอยู่ทั่วตามสถานที่ท่องเที่ยว
  • คนที่นี่คงชอบ Camping มาก นอกจาก Dumping Station แล้วยังมีจุดเอาน้ำดื่ม น้ำใช้ รวมไปถึงห้องน้ำสาธารณะ ค่อนข้างเยอะ
  • เนื่องจากปัญหาเรื่อง Internet การขับรถโดยอาศัย Google Maps ควรจะให้มัน Navigate ตั้งแต่ออกจากเมือง และอย่าปิด Navigation เด็ดขาดระหว่างเมือง เพราะถ้าสัญญาณมือถือหายหมด Google Map Navigation จะ Cache Map ไว้ประมาณหนึ่ง สามารถนำทางจนถึงจุดหมายได้ และ Reroute ง่ายๆได้ (Offline map ไม่ช่วยอะไร เพราะมัน Search + Turn-by-turn navigation ไม่ได้ ไว้กันหลงอย่างเดียว)
  • App ที่ควรมีไว้กันพลาด คือ Mapfactor Navigator เป็น App Free ที่อาศัย OpenStreetMap เอามาใช้ทำ Navigation ได้ พบว่าสถานที่สำคัญๆในประเทศจะมีค่อนข้างครบ และสามารถ Search offline ได้ (แต่ยากๆหน่อย ต้องใช้วิธีระบุ ประเทศ เมือง ถนน อะไรยังงี้เอา) ถ้าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเจอหมด ส่วนที่พักอาจจะเอาไว้เข้าถึงเมืองค่อย Search อีกทีก็ได้
  • ห้องน้ำสาธารณะมักจะมีทุกๆอย่างมาก 50 km หรืออาจถี่กว่านั้นขึ้นกับย่าน คือทุกๆ 50km มักจะมีเมืองๆหนึ่งจะเล็กจะใหญ่ว่ากันอีกที และทุกเมืองจะมีห้องน้ำสาธารณะ แต่ไม่ใช่ทุกเมืองที่ห้องน้ำจะอยู่ติดทางหลวง อาศัย CamperMate ช่วยอีกชั้นหนึ่งได้
  • ที่จอดรถตามในเมืองจะมีเครื่องเก็บตังค์ และเขียนเวลา Maximum ที่จอดได้ไว้ข้างๆ เช่น P120 แปลว่าจอดได้สูงสุด 2 ชม. แต่เก็บค่าจอดเป็นตามจำนวนเงิน (จ่าย 1.5 ชม. ได้)
  • ความเร็วสูงสุด ระหว่างเมือง 100km/h ในเมือง 50km/h มีมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ที่ ระวังตำรวจให้ดี เคยเจอรถขับเร็วมากบนทางระหว่างเมืองข้างๆมีแต่ทุ่งกับป่า ขับไปอีกสิบนาทีเจอตำรวจซิวอยู่ข้างทางเรียบร้อย
  • เมืองส่วนใหญ่จะไม่มีไฟเขียวแดง! ยกเว้นเมืองใหญ่จริงๆอย่าง Christchurch หรือ Auckland ขนาด Queenstown ยังไม่มี เขาจะใช้ระบบวงเวียนแทน แล้วเชื่อว่าคนขับรถทุกคนมีมารยาท ธรรมเนียมทั่วไปคือ รถในวงเวียน Priority สูงกว่าเสมอ และพยายามขับแบบให้ทางเข้าไว้ อย่าพยายามแทรก จะโดนด่า+อันตราย (โดนมาแล้ว) ตอนจะเข้าวงเวียนให้เปิดสัญญาณไฟเสมอ
  • ที่นี่จะมี One Lane Bridge เยอะมาก คือเป็นสะพานแบบมีเลนเดียว ใช้ระบบให้ทาง จะมีป้ายบอกก่อนว่าใครมี Priority สูงกว่า ถ้าเจอมาปะหน้ากันพร้อมกันก็ต้องให้ทางเอกได้ข้ามก่อน แต่ถ้าเป็นสะพานยาวมากๆ จะมีสัญญาไฟ (Auto-activate) ไว้กำกับ
  • รถส่วนใหญ่แทบไม่ติด
  • ค่าน้ำมัน แพงกว่าเมืองไทย 2 เท่า เวลาเช่ารถให้คำนวณ Factor ตรงนี้อ้างอิงกับขนาดรถเช่าไว้ด้วย
  • การเติมน้ำมัน เติมเอง แล้วจ่ายในปัีม จ่ายบัตรเครดิตได้แต่ต้องรูดบัตรเอง (รูดหนึ่งครั้ง แล้วเสียบบัตร เลือก Account Type เป็น Credit) บอกพนักงานได้ว่าอยากจะเซ็นเขาจะกดๆให้เอง

ที่พัก

  • ที่พักประเทศนี้จะคล้ายๆ Services Apartment ไปหมด คือถ้าเป็นระดับ Motel-Hotel ในห้องจะมีครัว ถ้า Hostel ก็จะมีครัวกลางให้ใช้ ยืมเครื่องครัวได้
  • ที่พักส่วนใหญ่กว้างมากถ้าเทียบกับมาตรฐานของประเทศแถบยุโรป คือนอนอัดๆกันได้ 4 คนแน่นอน บางที่นอนได้น่าจะถึง 10 คนด้วยซ้ำ (ห้องขนาด 2 คนปกติ)
  • ตอนสำรวจที่พัก ให้สังเกตดีๆเขาจะบอกว่าเป็น Fully Equipped Kitchen หรือไม่ระบุ หลายๆที่จะบอกว่าในครัวมีอะไรบ้าง (ละเอียดถึงเครื่องครัว) ให้สังเกตว่ามี Hob Stove Oven อะไรพวกนี้หรือเปล่า แต่โดย Default มักจะมี ซิ้งค์ล้างจานพร้อมน้ำยา ไมโครเวฟ เครื่องปิ้งขนมปัง ให้เสมอ
  • บางทีไม่มีเตาให้ แต่สามารถให้ยืมเตาไฟฟ้ามาทำอาหารได้ (Bella Vista ที่ Hokitika เป็นแบบนั้น) 
  • ระวังเรื่องกลิ่น บางที่ขู่ไว้ว่าถ้าทำอาหารกล่ินเยอะเขาอาจจะ Charge ค่าทำความสะอาด เทคนิคประจำคือ
    • พอจะเริ่มผัด-ทอด เปิดประตูห้อง และหน้าต่างด้านหลังหรือเครื่องดูดควันห้องน้ำไว้
    • ทำเสร็จ ตักใส่จาน วางบนโต๊ะกินข้าว ทำความสะอาดกะทะคร่าวๆ และรีบแช่น้ำไว้ไม่ให้กล่ินออกจากกะทะ
    • รีบๆเช็ดเตา บ่อยครั้งอาหารที่ทำมันกระเด็นติดเตา และนั่นทำให้ส่งกล่ิน
    • ถ้ามีเครื่องดูดควัน เปิดทิ้งไว้สักครู่หนึ่งพอ แล้วรีบปิด พบว่าหลายที่คงไม่ได้ทำความสะอาดเครื่องดูดควัน มันกลายเป็นตัวปล่อยกลิ่น (คาดว่า Filter คงสกปรกแล้ว)
    • พอเริ่มหนาวหรือควันเริ่มจาง ก็ปิดประตูได้ (ถ้าไม่หนาวจะเปิดไว้เลยก็ได้)
    • ครัวบางรร. ออกแบบไว้ดีมาก ข้างครัวมีหน้าต่างแยกเฉพาะไว้เปิดไล่กล่ิน ก็อย่าลืมเปิด
  • ที่พักบางแห่ง มีกระทั่ง เตาอบทำขนม เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้าส่วนตัว (Clearbrook Motel Lake Wanaka) แต่เครื่องซักผ้าที่ให้มาจะเป็นเครื่องปกติ = ซักช้า ใช้เวลาประมาณ 2 ชม. เหมือนเครื่องซักผ้าตามบ้าน อบอีกร่วมชม.
  • ถ้าเป็นที่พักแนวรวมๆหน่อยจะมีเครื่องหยอดเหรียญ (Top 10 Holiday park) ก็จะซักเร็วเสร็จเร็วตามสูตร
  • เมืองสำคัญจะมีที่พักชื่อ Top 10 Holiday Park อันนี้ Top 10 เป็นชื่อโรงแรมนะ แต่ Holiday Park นี่เหมือนจะไม่ใช่ แต่ที่พักของแบรนด์นี้จะเป็นรวมๆกันระหว่าง ระดับ Motel (ห้องทุกอย่างในตัวครบ รวมครัว) ไปจนถึง Hostel (นอนรวม ห้องน้ำแชร์ มีครัวกลาง) รวมไปถึงจุดให้จอด Camper Van และมีน้ำดื่ม + Dumping Station ให้ด้วย (มีกระทั่ง สวนสนุกเล็กๆสำหรับเด็ก และราวตากผ้า!)
  • Reception ส่วนใหญ่จะปิดไม่เกิน 21.00 ถ้ามา Checkin หรือติดต่อหลังจากเวลานั้นจะมี Charge หากจำเป็นต้อง Late Checkin ควรรีบประสานงานไว้ก่อน เขาจะมีกระบวนการ Checking ไว้ให้ (เช่น เปิดรหัสเซฟเอากุญแจ)
  • ถ้าที่พักระดับ Motel ลงมา จะไม่มีพนักงานทำความสะอาดเหมือน Hotel แปลว่าจะมาขอทิชชู่หรือสบู่ดึกๆนี่จะลำบาก แต่ถ้า Hotel ก็เหมือนโรงแรมปกติ
  • ไม่ค่อยมีที่เสียบปลั๊กให้เสียบ ต้องเอารางปลั๊กไป
  • ห้องน้ำบางที่ จะใช้หลอดไส้แทน heater อันนี้จะไม่ค่อยร้อน+คุมอุณหภูมิไม่ได้ เพราะงั้นมาถึงรีบเปิดทิ้งไว้เลย

อาหารการกิน

  • ดูเหมือนที่นี่จะไม่มี Local Food (เคยถามโรงแรมหนึ่งเขาทำหน้างงๆ) คือ Local Food ก็จะเป็นอาหารสไตล์กึ่งยุโรป-อเมริกา พวก เบอร์เกอร์ หรือ Fish and Chip อะไรทำนองนั้น
  • แทบไม่ได้กินอาหารตามร้านเลย ทำกับข้าวกันเองตลอด ประหยัด วัตถุดิบพวก เนื้อ ปลา หมู ผัก ชั้นเลิศ ราคาไม่แพงนัก เนื้อราคาพอๆกับหมู มีเห็ดแปลกๆให้กิน
  • อาหารเช้ากินขนมปังแผ่นปิ้ง (มีเครื่องปิ้งขนมปังในที่พักทุกแห่ง) และซื้อ Nutella มาทาเอา
  • ร้านอาหารที่อร่อยที่สุดในทริป กลับกลายเป็นร้าน Kohan เมือง Lake Tekapo ซึ่งเป็นร้านญี่ปุ่นแห่งเดียวในเมือง แต่เนื้อและปลาแซลมอนนี่ชั้นดีมาก
  • ที่อร่อยใช้ได้คือ Fergberger เมือง Queenstown แต่มันอร่อยตรงเนื้อมันเป็นเนื้อชั้นดี นอกนั้นมันก็คือเบอร์เกอร์ปกติ
  • อาหารให้เยอะตามไซส์ฝรั่ง คนๆหนึ่งกิน Maincourse อันเดียวพอ Fergberger ให้ชิ้นใหญ่ระดับเดียวกับ Whopper ของ BGK
  • พวก Mcdonald BGK ขนาด Berger ปกติ ถือเป็นของไม่แพง มี Angus Beef ด้วย
  • ถ้าเจออุปกรณ์คล้ายๆแปรงขัดส้วมวางข้างๆน้ำยาล้างจาน นั่นคือแปรงล้างจาน คือคนที่นี่ไม่ค่อยใช้สก๊อตไบรต์ (มีบางโรงแรมมีให้บ้าง แต่แปรงล้างจานนี่มีทุกที่) ใช้ๆไปพบว่าเวิร์กอยู่คือเวลาล้างของมีคมไม่ต้องกลัวบาดเลย

อื่นๆ

  • วิวสวยขั้นเทพ ทุกที่คือ Middle earth
  • วิวมีหลายแบบ ตั้งแต่ภูเขาหิมะ ยันป่าดิบชื้น เลือกวิวถ่ายได้ตามชอบใจ
  • คนส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายยุโรป (อดีตเมืองขึ้นอังกฤษ) บ้านเมืองออกแนวยุโรป คือทำงานตอนกลางวัน ดึกๆกลับบ้าน กลางคืนเมืองเงียบยังกับ Silent Hill ร้าน Supermarket ส่วนใหญ่ปิดไม่เกิน 3 ทุ่ม บางเมืองคนน้อยปิดมันตั้งแต่ 18.30 เลย วันอาทิตย์ปิดเร็วกกว่าปกติ ถ้าไปถึงเมืองไหนดึก และกะจะชอปปิ้งต้องเช็ควันและเวลาดีๆ ถ้าจำเป็นซื้อระหว่างทางและแช่ในกระเป๋าแช่เย็นเอา (มีขายตาม Supermarket)
  • Organized Tour ต่างๆราคาแพง-แพงมาก แพงนี่คือเทียบเงินไทยหลักหลายพันบาท/คน นั่ง Shotover Jet รวมซื้อของด้วยเหยียบคนละเกือบห้าพันบาท ทัวร์ LOTR บางที่คนละ 100NZD (ประมาณ 3,000 บาท แต่อันนี้ทั้งวันนะ) โดดบันจี้จัมป์ยังราคาใกล้เคียงนี้เลยทั้งๆที่ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที (แต่เพื่อซื้อความปลอดภัยอ่ะนะ) เพราะงั้นวางแผนก่อนดีๆ ซื้อหน้างานรัวๆนี่มีจนแน่ (มีเว็บรวมดีลของ Newzealand ให้ใช้บริการอยู่บ้างเหมือนกัน)

Tuesday, June 18, 2013

เที่ยวญ๊่ปุ่น 2013

ไม่เคย Blog จดเกี่ยวกับเรื่องการเที่ยวมาก่อน เพราะมันมีอยู่มากมายเต็ม Blue Planet และ Internet ไปหมดแล้ว แต่รอบนี้ขอจดไว้หน่อยเพราะความซับซ้อนสูงพอสมควร กลัวลืม

Internet
  • B-Mobile Visitor Sim เวิร์กดี สัญญาณชัดแม้แต่อยู่ในหุบเขา ซื้อแบบ Unlimited 384kbps 14 day ปรากฎว่าใช้จริงๆประมาณ 1GB เพราะงั้นถ้าไปสั้นกว่า 8 วัน ซื้อ 1GB unlimited speed น่าจะได้
    • รับซิมที่ไปรษณีย์นาริตะ เดินไป ยื่นพาสปอร์ต พนักงานพูดอังกฤษไม่ได้แต่จะรู้เลยว่าเรามาทำอะไร
  • Free Wifi หายาก นอกจาก Narita กับโรงแรมก็ไม่เห็นมีที่อื่น อย่าคาดหวังหาเน็ตใช้ฟรีตามรายทางนัก
  • เน็ตมาเมืองไทยช้า ถ้าต้องมาดึงอะไรจาก Server เมืองไทยจะอืดๆหน่อย
  • ปรากฎว่าใช้ Manga Searcher ก็ดูดการ์ตูนเถื่อนได้แฮะ ไม่เห็นโดน Block อะไร
Battery
  • Galaxy Note 2 แบตต์ไม่อึดพอเที่ยวทั้งวันแบบเปิด Map และใช้ Net หาข้อมูลรัวๆ น่าจะต้องใช้แบตต์ประมาณเกือบๆ 2 เท่าของความจุ 
    • อันนี้ทำ Tether เกือบทั้งวัน แชร์เน็ตให้อีก 1-2 devices)
  • มี Yubao รุ่น 1x,xxx MAH ตัวนึงก็เกินพอ ข้อเสียคือมันหนัก (ประมาณ 250g) จริงๆมีสัก 7,000 mah ก็น่าจะพอแล้ว
การเดินทาง
  • Google Map + HyperdiaLite เวิร์กมาก ส่วนใหญ่หาเส้นทางการเดินทางแบบสดๆหน้างาน Accuracy สูงมาก Gmap มี Indoor Map ของสถานีรถไฟใหญ่ๆ (เช่น โตเกียว เกียวโต) ด้วย
    • Gmap ดีกว่า ตรงที่บอกเลขชานชาลาด้วย
    • แต่เชื่อได้ไม่ทุกครั้งนะ ควรหา 2 ตัวเทียบกัน ถ้ามีเวลา
    • HyperdiaLite accuracy สูงกว่า แต่ดันไม่บอกชานชาลา และใช้บอกได้เฉพาะจากสถานีถึงสถานี ไม่รองรับรถเมล์
  • Sign ต่างๆมีภาษาอังกฤษพอสมควรไม่แย่อย่างที่ลือ เพียงแต่มันมักจะอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นยากกว่า หรือบางทีปนกับป้ายญี่ปุ่นแล้วทำตัวอังกฤษเป็นตัวเล็กๆ
  • ถ้าเดินทางด้วย Shinkansen มากกว่า 3 ครั้ง ซื้อ JRPass คุ้มแน่นอน (ประมาณ 8-9,000 บาท) เพราะเดินทางรอบหนึ่งก็เกือบ 3,000 แล้ว (มันมีค่าตั๋ว กับค่าที่นั่ง แม้กระทั่งกานั่งที่นั่งแบบไม่จอง ก็มีค่าใช้จ่าย)
    • เวลา Search ใน Hyperdia มันจะมี option ยกเว้นพวก Nozomi Hayabusa อะไรนั่นเอาไว้ใช้กับ JR Pass เลย
  • พวก Pass ต่างๆในเมืองต่างๆค่อนข้างมึน ญี่ปุ่นมี Public Transportation หลายบริษัทมากในเมืองๆเดียว (โดยเฉพาะโตเกียว) ส่วนใหญ่ Pass ต่างๆใช้ข้ามบริษัทไม่ได้ เวลา Plan ต้องมาดูว่าจะนั่งจากไหนไปไหนแล้ว optimize cost อีกที
    • เกียวโต - มีบัตร Day pass สำหรับนั่งรถไฟ+รถเมล์แบบในเขตเมือง ถ้าเที่ยวทั่วไปและนั่งรถเมล์+รถไฟมากกว่า 4-5 ครั้งรับรองคุ้ม (ไม่รวมค่าเข้าสถานที่)
    • โอซาก้า - มีบัตร Osaka unlimited pass ถ้าไปสถานที่ท่องเที่ยวมากกว่า 3 แห่ง คุ้มแน่เพราะรวมค่าเข้าไปแล้ว
    • ฮาโกเน่ - ถ้าเที่ยวสัก 2 ที่และนั่งรถเมล์มากกว่า 3-4 ครั้ง ซื้อ Hakone Free Pass ดีกว่า (อันนี้พลาดไป ไม่ได้กะเที่ยวตอนแรกเลยไม่ได้ซื้อไว้ก่อน)
      • การเดินทางไปตามเรียวกัง ลงสถานี Odawara แล้วนั่งรถเมล์ยาวๆ ง่ายกว่านั่ง Tozan ต่อสารพัดเยอะ เพราะเส้นทางมันขึ้นลงเขา ถ้าแบบกระเป๋าไปด้วยจะลำบาก โดยรวมนั่งรถเมล์ขาละน่าจะไม่เกิน 1 ชม. จาก Odawara (มีบันไดเลื่อน + ลิฟต์ตลอดทางไปถึงทางขึ้นรถเมล์)
    • โตเกียว
      • ถ้าวางแผนจะนั่ง Narita Express (NEX) ซื้อ Suica + NEX ประหยัดกว่า (มีทั้งแบบ ขาเดียว และ 2 ขา) JR Pass จะรวม NEX ไปแล้ว แต่ถ้าระยะเวลา JR Pass ไม่คลุม ก็เลือก NEX ขาเดียวก็ได้
      • Day pass ราคา 700 นั่งได้เฉพาะ Tokyo Metro ไม่รวมบริษัทอื่น ถ้ามี JR Pass ก็จะครอบคลุมเกือบทั้งหมด (น่าจะยกเว้นแค่โอไดบะ กับ Tokyo Sky Tree) ถ้าวันนึงขึ้น Metro เกิน 4 ครั้งก็จะค่อนข้างคุ้มละ (ขั้นต่ำต่อครั้ง 160 JPY)
      • สถานี Hanzomon ทางขึ้นลิฟต์อยู่ทางออก 4 โคตรไกล!
  • เวลา search ชื่อสถานี เชื่อ Google Map ได้ คือบางทีสถานีจะมีหลายชื่อ (เช่น Harajuku จริงๆมันชื่อ Meiji-Jinku Mae (Harajuku))
  • แต่ถ้าสถานที่ต่างๆ ถ้า GMap เจอ result เดียวอันนั้นเชื่อได้ระดับ Lat/Long แต่ถ้ามันหาเป๊ะๆไม่เจอ อย่าไปเชื่อ
  • แผนเดินทางจาก Gmap เชื่อไม่ได้ 100% คือมันใช้ได้แต่รูปแบบการเดินทางอาจจะยากและพิสดารมาก (สารพัดต่อ ไม่ก็เดินผ่านอะไรแปลกๆ) ให้เปิด http://www.japan-guide.com ดูสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ และดู Travel Guide ว่าไปลงสถานีไหน ค่อยหาด้วย Gmap ไปยังสถานีนั้น จะง่ายกว่าสำหรับนักท่องเที่ยว
  • เฉพาะการบินไทย - ถ้าทำ Internet Checking จากเว็บการบินไทยจะเร็วกว่ามาก และยังคงโหลดกระเป๋าได้ด้วย
กิน
  • ร้านที่ TripAdvisor แนะนำ มักจะเป็นร้านดังสำหรับชาวต่างชาติ expect จะเจอฝรั่งได้เลย
  • บางร้านมีบริกรเป็นชาวต่างชาติที่พูดญี่ปุ่นได้เลยด้วยซ้ำ (เช่น Maisen ตรง Omotesando หรือ Gyozalou ตรง Harajuku)
  • ร้านที่แนะนำใน TripAdvisor ส่วนใหญ่ถือว่า "อร่อยพอประมาณ" แต่ไม่ใช่ระดับ ทีวีแชมเปี้ยน เชฟกระทะเหล็กอะไรระดับนั้น แต่เชื่อได้ว่าพนักงานชินกับฝรั่งแน่
อื่นๆ
  • ปลั๊กในรร. หายากตามเคย พกรางปลั๊กไปด้วยก็ดี แต่จะดีมาก้าเป็นรางปลั๊กแบบมีสายปลั๊ก เพราะปลั๊กญ๊่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นปลั๊ก 2 ตา (แบบบ้านเราเลย) เวลาเสียบมันไม่ค่อยแน่น รับน้ำหนักไม่ได้ (ใช้ Belkin traveler adapter แล้วเสียบไม่ค่อยอยู่)
  • ญี่ปุ่น ห้องน้ำเยอะมาก มีทุกสถานี ทุกสถานที่ท่องเที่ยว ขนาดในฮาโกเน่ก็มีห้องน้ำสาธารณะประปราย แต่ไม่ใช่ทุกที่จะมีส้วมไฮเทคนะ ถ้าชานเมืองมักจะเป็นส้วมโบราณแบบนั่งยอง (แต่มีกระดาษเสมอ)
  • Suica ซื้อแบบ MySuica กลับไม่ดี เพราะเวลาคืนต้องมี Passport ไปด้วยถ้าจะคืนบัตร ถ้าจะใช้ My Suica ต้องเผื่อเวลาไปคืนบัตรที่ JR East travel center ใต้ Narita สัก 1 ชม. เพราะบางทีคนต่อคิวเยอะมากๆ
  • ร้านค้าใน Narita ใช้ Suica ซื้อของได้ และสามารถบอกเขา ให้ซื้อจนหมดบัตร แล้วจ่ายเงินสดเพิ่มเอาได้ด้วย (ใจดีมาก) แต่ใช้ได้แค่รอบละบัตรนะ
  • เวลาเข้าร้านหรือสถานที่ท่องเที่ยว เขาจะพยายามถามเหมือนว่าเรามาจากประเทศไร ตอบ "English" ไป คือเขาจะหา Menu หรือ Guide book ภาษานั้นให้ (ภาษาไทยไม่ค่อยมีหรอก)
  • โดย average ภาษาอังกฤษของคนญี่ปุ่นเรียกว่าแย่กว่าไทย แต่ไม่ได้แย่อย่างที่ร่ำลือ ร้านรวงสถานที่ต่างๆส่วนใหญ่ ถึงจะพูดไม่ได้ดี แต่พอสื่อสารได้ในระดับเข้าใจได้ อาจต้องชินกับสำเนียงญี่ปุ่นหน่อย
  • Google Translate ใช้งานได้ดีพอสมควร ปัญหาอย่างเดียวคือมันช้า ถ้าตัวอักษรเป็นตัวเขียนหรือตัวคันจิเยอะๆมักจะ OCR ไม่สำเร็จ ให้ใช้วิธีเขียนเอา (Note 2 จงเจริญ!)
  • S Note ของ Galaxy Note ใช้วางแผนเที่ยวได้ไม่เลว
    • Screenshot ด้วย Handgesture แล้วให้มันลง Clipboard ไป
    • เปิด S Note แล้วเลือก Add Object จาก Clipboard (ไม่ใช่เลือก Paste นะ!) 
    • ตามไปลบ Screenshot (ไม่ให้เปลืองที่) ได้เลยจาก Notification
    • ก๊อปปี้บางส่วนของหน้าด้วยปากกา


Sunday, November 20, 2011

สิ่งที่ได้จากช่วงน้ำท่วม

น้ำท่วมคราวนี้ทำให้ได้ความรู้ DIY เพิ่มมาบ้างพอสมควร ขอจดไว้หน่อยกันลืม

ประปา 
  • สงสัยมานานแล้วว่าท่อ PVC มันต่อเชื่อมยังไง ได้รู้สักทีว่ามันเชื่อมกันด้วยกาว ให้หาซื้อกาวทาท่อ (ในเน็ตชอบแนะนำ ยี่ห้อ ท่อน้ำไทย) มาทาท่อ PVC ตรงจุดที่จะเชื่อมกัน กดแน่นๆ รอแค่ 1 นาทีท่อก็จะติดกันแน่นพอสมควร ตามสูตรควรรอสัก 1 วันค่อยใช้ แต่มีคนบอกว่าช่างประปาบางคนรอแค่ 10 นาทีก็ใช้แล้ว
  • ท่อ PVC จะออกแบบมาให้เชื่อมกันได้อยู่แล้ว ถ้าท่อขนาดที่เข้ากันได้ ภายในจะมีขยักนิดหน่อยที่ไว้ให้เสียบท่อได้พอดี
  • ระบบประปาในบ้าน น้ำทิ้งจะทิ้งออกไปที่ท่อระบายน้ำ มันเรียกว่าท่อระบายน้ำแต่เอาเข้าจริงมันไม่ได้เป็นท่อๆแฮะ แต่เป็นเหมือนโพรงสี่เหลี่ยมเท่านั้นเอง อย่างที่บ้านจะมีท่อระบายน้ำรอบบ้าน (ไม่ดีในแง่กันน้ำท่วม เพราะรูเยอะมาก) แต่ปลายท่อจะเชื่อมออกไปที่โพรงท่อระบายน้ำใหญ่ของซอย (จริงๆแล้วกันแค่ตรงนี้ได้ก็กันได้ทั้งบ้าน อาจยกเว้นสวนถ้าต่อถึงดินโดยตรง) 
  • ท่อระบายน้ำในบ้าน จะต่อ PVC ไปแล้วปลายก็ไปทิ้งที่ท่อระบายน้ำใกล้ๆบ้าน กรณีของที่บ้าน เจอปลายท่อระบายน้ำทั้งหมด 3 จุดพอดี และ test แล้วพบว่าท่อบนพื้นมันออกท่อเดียวกันหมด ทำให้สามารถกันน้ำท่วมได้ง่ายๆ โดยเอา จุกปิด PVC แบบเกลียวนอก + เชื่อมท่อ PVC ด้วยกาว ไปเสียบปิดไว้ ถ้าเกิดน้ำจะท่วมก็เอาจุกปิดมาขันปิดเอา น่าจะเวิร์คกว่าไปปิดในบ้านแบบที่เขาชอบทำกันอีก เพราะเปิดปิดได้ และแรงดันน้ำน่าจะดันให้จุกปิดยิ่งแน่นกว่าเดิม (ไม่ได้ทดสอบ เพราะยังไม่ท่วม)
  • ถังส้วมใต้ดิน ก็มีท่อประปาตรงช่วงบนของถัง (!?) เพื่อระบายของเหลวจากส้วมออกมา (กากตกลงล่าง ซึมออกหรือไม่ซึมขึ้นกับประเภทถัง ถ้าแบบไม่ซึมก็ต้องเอารถสูบมาสูบเป็นระยะๆ) ส่วนที่ล้นออกมามันก็ลงท่อระบายน้ำนี่แหละ เพราะงั้นตามหลักการปิดปลายท่อนี้ได้ก็ป้องกันปัญหาน้ำล้นจากส้วมได้ (แต่เผอิญหาไม่เจอ)
  • ถ้าเอาท่อกันกลิ่น (แบบใต้ซิ้งค์ครัว หรืออ่างล้างหน้าในห้องน้ำ) ไปเสียบตรงปลายท่อระบายน้ำ น่าจะกันแมลงสาบได้แบบถาวรเพราะมันจะต้องว่ายน้ำเข้ามา แต่คงมีผลทำให้ท่อระบายน้ำระบายได้ช้าลง ไว้คงให้ช่างมาทำดีกว่า ทำเองเดี๋ยวเละ ไม่ค่อยถูกกับงานประปา
  • ไดรโว่สูบน้ำมีทั้งแบบดูดโคลนได้และดูดได้แต่น้ำ การใช้งานมันออกแบบมาให้จมน้ำลงไปเลยซัก 10-15cm แล้วห้อยปลั๊กไว้ด้านบน โดยเอาเชือกมาผูกหย่อนอีกที แต่เอามาใช้กับน้ำท่วมคงไม่ขนาดนั้น แค่เสียบปลั๊กก็ใช้งานได้ ท่อน้ำใช้ท่ออ่อนเป็นผ้าๆมาพันๆเอาได้ง่ายๆ
  • เครื่องกรองน้ำ ต้องเปลี่ยนไส้กรองทุก 2 ปี เปลี่ยนไส้คาร์บอนกับเรซิ่นทุก 1 ปี ล้างทุก 2-3 เดือน ส่วนไส้กรองก็ล้างเมื่อเริ่มตันด้วยน้ำ
ไฟฟ้า
  • แม้ว่าจะมีการแยกแผงวงจรไฟล่าง-บน แต่ถ้าน้ำท่วมเข้าแผงไฟหลักก็ซวยอยู่ดี กรณีที่บ้านจุดต่ำสุดอยู่แค่ 80-90 cm จากพื้น กันยากโคตร ทำให้รู้ว่าแยกแผงไฟหลัก ล่าง บน หรือไม่ก็เอาไปไว้ข้างบนทั้งหมดจะดีที่สุด (สายไปแล้ว)
  • ปิดแผงปลั๊ก/โทรศัพท์/ทีวี แกะฝามันออกมา ใช้ฟอยล์ห่ออาหารมาปิดหลายๆชั้น อาจจะปิดสก็อตเทปไปด้วยก็ได้ แล้ว เอาซิลิโคนยิงรอบๆ อันนี้ยังไม่ได้ทดสอบจริง แต่โดยหลักการน่าจะพอช่วยแก้ปัญหาสายไฟชื้นได้ (ไม่ได้แก้เรื่องน้ำเข้า แค่ไม่อยากให้ระบบไฟเสียหาย)
  • อย่าลืมดูมิเตอร์ไฟนอกบ้าน การไฟฟ้าบางทีชอบติดไม่สูงเพราะไม่ต้องปีนดู ปรากฏว่าไม่ถึงเมตร ก็มี
ก่อสร้างทั่วไป
  • (ไม่ได้ทดสอบ) สำหรับการอุดรูไม่พึงประสงค์แบบถาวร ดูเหมือนการใช้ Bosney ซึ่งเป็นกาวอุดรูรั่วกระเบื้องและปูน จะง่ายสุด เพราะไม่ต้องผสมปูน แกะมาทาๆได้เลย แห้งช้าแต่พอแห้งแล้วแข็งมากแบบปูนเลย ลองคร่าวๆแล้วน้ำไม่รั่ว ถ้าพื้นผิวใหญ่อาจต้องอุดรูด้วยอะไรสักอย่างก่อนทาเพราะกาวเหลวต้องมีพื้นผิวให้เกาะ (ตอนทำแบบด่วนๆ เอาทิชชู่ยัด เพราะได้ยินว่าช่างบางคนเอาทิชชู่ยัดก่อนยาซิลิโคน)
  • ซิลิโคน จริงๆแล้วมีหลายแบบ อคริลิค ซิลิโคน อะไรพวกนี้ เหมือนว่าซิลิโคนจะดีสุด มีทั้งเกรดถูก กับแพง (อย่างแพงมียี่ห้อ SONY ด้วย) มีหลายสี เวลาใช้ให้ใส่ในปืนยิง ตัดปลายออก แล้วกดๆเข้าไป พอยิงเสร็จให้คลายล็อกตรงปลายตัวดันไม่งั้นมันจะดันให้ไหลไม่หยุด เวลาใช้เสร็จ ถ้ามีอะไรอุดปลายได้ก็ดี ส่วนหัวท่อซิลิโคน พบว่า ไม่ต้องทำความสะอาดจะดีที่สุด ลองเอาไปล้างแล้วเหนียวหนึบล้างยากมากๆ แต่ถ้าปล่อยจนมันแห้งไปเลย ก็ดึงเศษออกมาได้ง่ายๆเลย กลายเป็นแท่งยางใหญ่ๆ
  • เครื่องแอร์นอกบ้าน (คอยล์ร้อน คอมเพรสเซอร์ แล้วแต่จะเรียก) ไม่หนักอย่างที่คิด ตอนนี้ใช้วิธีแขวนผนังสูงกว่าพื้น 1 เมตรไปหมดแล้ว ในการย้ายตำแหน่งทุกครั้งจะต้องไล่น้ำยาแอร์ออกหมดเสียเงินมากพอสมควร
  • ผ้าใบหาง่ายมากพอสมควร เมื่อเทียบกับกระสอบทราย
  • เวลาซื้อของที่มีห่อกันกระแทก เก็บๆไว้บ้างก็ดีเอามาใช้ได้ในยามนี้

Saturday, October 22, 2011

รวมแผนที่ช่วงน้ำท่วม

ตอนนี้ยังหาเว็บที่มันมีแผนที่รวมแบบดีๆไม่ได้เลย ต้องแยกกันดู เลยมาแปะลิ้งค์รวมไว้ก่อนจะลืม

Wednesday, September 29, 2010

Disable touchpad when USB Mouse connected on Ubuntu (Lucid)

Update: 7/11/2010 Fixed a bug that happened with my laptop. The xinput was reset periodically for some reason.

Update: 2/11/2010 Fixed it a bit to make it works better. Now it don't need fix device name.

I wrote a short script to disable touchpad when mouse attached in Jaunty, which never works for me anymore after Jaunty. The reason is that gconftool and synclient could not correctly set touchpad state (it works for a very short while, until Gnome or X enable it back again). I just found the solution for Lucid (and probably for Maverick). It's

#!/usr/bin/python


import dbus # needed to do anything
from dbus.exceptions import DBusException
import dbus.decorators # needed to receive messages
import dbus.glib # needed to receive messages
from dbus.mainloop.glib import DBusGMainLoop
import gobject # needed to loop & monitor
import os, re, time, sys

global add_action, remove_action, bus, hal_manager

_debug = True
device_added = []
touchpad_enabled = True
device_cap = 'input.mouse'

add_action = 'sleep 1s && xinput --list --short | grep -i touchpad | sed "s/^.*[[:space:]]*id=\\([0-9]*\\)[[:space:]]*.*$/\\1/g" | xargs -I id xinput --set-prop id --type=int --format=8 "Device Enabled" 0'
remove_action = 'xinput --list --short | grep -i touchpad | sed "s/^.*[[:space:]]*id=\\([0-9]*\\)[[:space:]]*.*$/\\1/g" | xargs -I id xinput --set-prop id --type=int --format=8 "Device Enabled" 1'
check_action = 'xinput --list --short | grep -i touchpad | sed "s/^.*[[:space:]]*id=\\([0-9]*\\)[[:space:]]*.*$/\\1/g" | xargs -I id xinput --list-props id | grep -qi "device.*enabled.*:[[:space:]]*0$"'

exclude_devices = ['usb_device_a5c_4503_noserial_if0_logicaldev_input']

def dprint(msg) :
    global _debug
    if _debug :
        sys.stderr.write(msg + '\n')
        sys.stderr.flush()

#@dbus.decorators.explicitly_pass_message
def add_device(*args, **keywords):
    check_and_run_add_action(args[0])

def check_and_run_add_action(device_path) :
    global device_added

    retval = False
    Path = device_path.split('/')
    dprint('device added == %s' % Path)

    if Path[-1] in exclude_devices :
        return retval

    device_obj = bus.get_object('org.freedesktop.Hal', device_path)
    device = dbus.Interface(device_obj, dbus_interface = "org.freedesktop.Hal.Device")
    cap = device.QueryCapability(device_cap)

    dprint('Device capability == %s' % cap)
    try :
        prop = device.GetPropertyString('info.subsystem')
    except DBusException :
        prop = None

    dprint('Property String == %s' % prop)

    if cap and prop and (prop == 'input') :
        device_added.append(Path[-1])
        dprint('Executing add_action')
        os.system(add_action)
        retval = True
    return retval
       
#@dbus.decorators.explicitly_pass_message
def remove_device(*args, **keywords):
    global bus, _debug, device_added

    Path = args[0].split('/')
    dprint('device removed == %s' % Path)

    try :
        if device_added :
            if Path[-1] in device_added :
                device_added.remove(Path[-1])
                dprint('Excuting remove_action')
                os.system(remove_action)
            else :
                # other device removed, run add action again to make sure
                # this workaround a bug in Lucid that device was periodically removed will reset enable flag
                os.system(add_action)
    except :
        dprint('Exception while removing device')
        if _debug :
            import traceback
            traceback.print_exc()

DBusGMainLoop(set_as_default = True)
bus = dbus.SystemBus()  # connect to system bus
hal_manager_obj = bus.get_object('org.freedesktop.Hal', '/org/freedesktop/Hal/Manager')
hal_manager = dbus.Interface(hal_manager_obj, 'org.freedesktop.Hal.Manager')

# Add listeners for all devices being added or removed
bus.add_signal_receiver(add_device, 'DeviceAdded', 'org.freedesktop.Hal.Manager',
                        'org.freedesktop.Hal', '/org/freedesktop/Hal/Manager')
bus.add_signal_receiver(remove_device, 'DeviceRemoved', 'org.freedesktop.Hal.Manager',
                        'org.freedesktop.Hal', '/org/freedesktop/Hal/Manager')

# Run remove action once to enable touchpad
dprint('Running removaction once')
os.system(remove_action)

# Find mouse first
dprint('Finding mouse first')
udis = hal_manager.FindDeviceByCapability(device_cap)
for udi in udis :
    dprint('Found device == %s' % udi)
    Path = udi.split('/')
    if check_and_run_add_action(udi) :
        break

# monitor
dprint('Start Mainloop')
loop = gobject.MainLoop()
try :
    loop.run()
except SystemExit, e :
    dprint('Got SystemExit exception %s' % e)
    raise e
except Exception, e :
    dprint('Got Exception from the loop')
    if _debug :
        import traceback
        traceback.print_exc()
    loop.quit()
    sys.exit(255)
The trick is to use xinput instead of gconftool/synclient!

Saturday, August 07, 2010

Extract and convert A_DTS to AC3

I got a problem again with my new video file. It contains A_DTS stream which is not recognizable with any player + tsMuxeR. According to this, I can use libdca to convert dts to wav and use aften to convert it to AC3.

mkvextract tracks /path/to/matroska.file.mkv 2:/tmp/dts.file.dts

dcadec -o wavall /tmp/dts.file.dts | aften - /tmp/ac3.file.ac3

mkvmerge -o /tmp/matroska.file.mkv /path/to/matroska.file.mkv /tmp/ac3.file.ac3
Another way is to use this to extract and remerge the stream automatically.

Tuesday, June 15, 2010

Correcting Video/Audio sync problem for .MOV file with Mencoder

The magic is
-mc 0 -noskip

Adding those 2 options to mencoder standard option makes the video/audio sync for my .MOV file (taken by Digital Camera) sync smoothly1